โครงการนี้มุ่งรวบรวมคู่มือและแนวทางปฏิบัติสำหรับการสื่อสารและการรับรู้ข่าวสารด้วยวิธีที่ปลอดภัย หลีกเลี่ยงและลดโอกาสได้รับผลกระทบจากภัยคุกคามต่างๆ ซึ่งรวมถึงการคุกคามโดยมิจฉาชีพ กลุ่มอันธพาล หรือเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติหน้าที่นอกขอบเขตที่กฎหมายอนุญาต และการดำเนินการใดๆ ที่ไม่สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ที่ประเทศไทยได้ลงนาม)
ในเมื่อหน้าต่าง ประตูในบ้าน ไม่ได้มีไว้เพื่อให้ทำสิ่งที่ผิดกฎหมาย ทางเราเชื่อว่าการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลทั้งหลายควรได้รับการป้องกันเสมือนหน้าต่าง ประตู ด้วยเช่นเดียวกัน
สิ่งที่โครงการนี้จะไม่ทำคือชี้วิธีการในการฝ่าฝืนกฎหมาย อำนาจศาล หรืออำนาจที่ชอบธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐในการทำงาน
ที่มา: xkcd: Security
ความปลอดภัยทางเทคโนโลยีหรือทางดิจิทัล ไม่ได้รับรองความปลอดภัยในแง่อื่น ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงสวัสดิภาพในชีวิต ความปลอดภัยจากร่างกาย หรือการถูกข่มขู่ประทุษร้าย
ภาพแรก เราจะเห็นว่าในจินตนาการของนักต่อสู้ ผู้ร้ายสองคนกำลังคุยกัน เขาได้จับตัวประกันมาและจะถอดรหัสลับที่ปกป้องคอมพิวเตอร์ของตัวประกัน แต่ทำไม่ได้เพราะใช้รหัสแบบ 4096 บิต ข้อมูลของตัวประกันจึงปลอดภัย แต่ในภาพที่สอง หากเจอคอมพิวเตอร์ที่ถูกเข้ารหัสลับไว้ ผู้ร้ายอาจเอาประแจมาทุบหัวจนกว่าตัวประกันจะบอกรหัสผ่าน การข่มขู่ประทุษร้ายในลักษณะนี้ไม่สามารถป้องกันได้ด้วยความปลอดภัยดิจิทัล
อย่าลืมนะครับว่าถ้าคุณหรือเพื่อนๆ กำลังจะเผชิญกับคนที่ยินดีที่จะใช้ความรุนแรง คุณต้องตัดสินใจเอาเองว่าสิ่งที่คุณกำลังจะทำอยู่นั้น คุ้มกับการเจ็บตัวหรือไม่
- หลักการพื้นฐานของอินเทอร์เน็ต
- การปกปิดตัวตน
- การสนทนาอย่างปลอดภัย
- การร่วมชุมนุมประท้วง
กรุณาอ่านรายละเอียดที่ไฟล์ CONTRIBUTION.md
- 🇹🇭 คู่มือพลเมืองเน็ต: เข้าใจเน็ต และใช้เน็ตให้ปลอดภัย
- 🇹🇭🇺🇸 การป้องกันตัวเองจากการถูกสอดส่อง: เคล็ดลับ เครื่องมือ และวิธีการติดต่อสื่อสารทางออนไลน์อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น
- 🇹🇭🇺🇸 อุปกรณ์และกลวิธีการรักษาความปลอดภัยทางดิจิตอล เก่าหน่อยแต่เขียนได้ดี
- 🇺🇸 Umbrella (ต้องการอาสาสมัครมาช่วยแปล)
- 🇺🇸 Digital Security Resources รวมลิงก์คู่มือต่างๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยดิจิทัล